บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลือกซื้ออาหารสด

     อาหาร หมายถึงอาหารสด อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จ เครื่องดื่ม น้ำดื่ม น้ำแข็ง นมและผลิตภัณฑ์นม สารปรุงแต่งอาหาร ซึ่งมีหลักการในการเลือกซื้ออาหารที่ถูกสุขลักษณะ โดยคำนึงถึง หลัก 3 ป. คือ ปลอดภัย ประโยชน์ ประหยัด
     ปลอดภัย คือ ต้องเลือกซื้ออาหารที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย ผลิตจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีลักษณะ สีสัน กลิ่น รสชาติ ตามธรรมชาติ ในกรณีที่เป็นอาหารที่มีการควบคุมตามกฎหมาย จะต้องมีเครื่องหมาย/สัญลักษณ์แสดงให้เห็น เช่น ครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก. ที่สำคัญคือ จะต้องเลือกซื้ออาหารที่ใหม่ สดโดยดูจากวันที่ผลิต หรือ วันหมดอายุบนฉลากบรรจุอาหารเป็นสำคัญ




    ประโยชน คือ ต้องเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการ การเลือกซื้ออาหารบริโภคต้องคำนึงถึงคุณค่าอาหารให้ครบถ้วน เหมาะสมกับความต้องการ
    ประหยัด คือ ต้องเลือกซื้ออาหารตามฤดูกาลที่ผลิตในท้องถิ่น เพื่อจะได้อาหารที่มีคุณภาพดี ราคาถูก หาซื้อได้สะดวก
      


            หลักการเลือกซื้ออาหารสด
          1. การเลือกซื้อผัก
            การเลือกซื้อผักสดบางชนิด
   - เผือก มัน เลือกหัวที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบ ไม่มีตำหนิ
   - หัวไชเท้า เลือกหัวที่ไม่งอ ขนาดกลางยังอ่อนๆ มีผิวเรียบ
   - กะหล่ำปลี เลือกหัวแน่นๆ จะมีน้ำหนักมาก
   - ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อนๆ สีเขียว เนื้อแน่นไม่ฝ่อ ฝักแก่จะมีสีขาวนวล
   - ผักที่เป็นใบ เช่น ผักคะน้า ผักกาดหอม ฯลฯ เลือกต้นที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ ต้นใหญ่ ใบติดโคนแน่น
   - มะเขือเปราะ มะเขือยาว เลือกขั้วติดแน่น สีสด น้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว
   - แตงร้าน เลือกลูกที่มีน้ำหนักมาก ลูกยาว สีเขียวอ่อน ไม่มีรอยช้ำ ผิวนวล
   - แตงกวา แตงกวาผิวเขียว ดีกว่าผิวขาวนวล ผิวเขียวเนื้อหนาเมล็ดเล็ก เนื้อจะกรอบ กว่าผิวขาวนวล ซึ่งมีเนื้อน้อยและเหนียว
   - มะนาว เลือกที่มีเปลือกบาง ผิวเรียบไม่เหี่ยว
   - ฟักทอง เลือกลูกที่มีน้ำหนักมาก ผิวเปลือกขรุขระ เนื้อจะแน่น  


                                             2. การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ (เนื้อ/หมู)
      การเลือกซื้อเนื้อหมู ควรเลือกเนื้อหมูที่มีสีชมพู มันสีขาว หนังเกลี้ยง และขาว ถ้าเป็นหมูแช่เย็นค้างคืนเนื้อจะมีสีซีด สำหรับหมูสามชั้น ควรเลือกที่มีมันบาง มีเนื้อหลายชั้น หนังขาว ไม่มีพังผืด ระหว่างชั้นหนังหมูสะอาด เนื้อหมูสามารถนำมาปรุงอาหารหลายชนิด แต่ต้องเลือกเนื้อหมูให้เหมาะสมกับอาหารชนิดนั้นๆ ด้วย เช่น การทำแกงจืดชนิดต่างๆ ควรใช้หมูสามชั้นมาสับให้ละเอียดใช้ใส่แกงจืด หมูสับจะมีความนุ่ม รสชาติดี หรือถ้าจะทำหมูแดง ควรใช้เนื้อหมูสันใน เพราะจะมีความนุ่มมากกว่าการใช้เนื้อส่วนอื่นๆ
     การเลือกซื้อเนื้อวัว ควรเลือกเนื้อที่มีสีแดง มันมีสีเหลือง ถ้าเนื้อไม่สดจะมีสีเขียวคล้ำๆ แต่ถ้าเป็นเนื้อควายจะต่างจากเนื้อวัว โดยสังเกตดูจากมันของเนื้อควายจะมีสีขาวและเนื้อหยาบมากกว่า การเลือกซื้อเนื้อวัวก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับอาหารชนิดนั้นๆ ด้วย เช่น ถ้าเป็นการผัด ควรต้องเลือกเนื้อสะโพก เพราะมีความนุ่มปานกลาง


  3. การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ (เป็ด/ไก่)

     การเลือกซื้อเนื้อไก่ นอกจากจะดูความสดแล้ว ต้องดูว่าเป็นไก่แก่หรือไก่อ่อน เพราะจะเหมาะกับการปรุงอาหารแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นไก่ทั้งตัวก็จะมีข้อสังเกตคือ
              - ไก่แก่ ปลายเล็บมน หนังใต้อุ้งเท้าจะหนาแข็ง เดือยจะยาว
              - ไก่อ่อน เล็บจะแหลม หนังใต้อุ้งเท้าจะบาง เดือยจะสั้น ถ้าเป็นสาวจะไม่เห็นเดือยไก่ที่สมบูรณ์ เนื้ออกจะหนาและนุ่ม
     การเลือกซื้อเนื้อเป็ด   ควรเลือกซื้อเป็ดที่อ้วน และให้สังเกตดูว่าเป็ดแก่หรือเป็ดอ่อน สังเกตจากปากและตีนเป็ด ถ้าปากและตีนเป็นสีเหลือง แสดงว่าเป็นเป็ดอ่อน ถ้าเป็นเป็ดแต่ตีนจะมีสีดำ เนื้อจะเหนียวและมีกลิ่นสาบมาก


4. การเลือกซื้ออาหารสด ปลา/กุ้ง/หอย/ปู/ปลาหมึก
    การเลือกซื้อปลา ควรจะเลือกปลาที่ตาใส เกล็ดและหนังไม่ขุ่น เนื้อแน่น เมื่อกดดูไม่บุ๋มตามรอยนิ้วมือ เนื้อไม่แข็งทื่อ ไม่มีกลิ่นเหม็น มีกลิ่นตามลักษณะของปลาแต่ละชนิด เหงือกมีสีสด
การเลือกซื้อกุ้ง ควรซื้อกุ้งที่มีหัวติดแน่งกับตัวไม่หลุดง่ายเนื้อแข็ง ตาใส เปลือกใส ตัวโต
   การเลือกซื้อปู การเลือกซื้อปู โดยเฉพาะปูที่ยังไม่ตาย โดยเฉพาะปูทะเลดูน้ำหนักตัว และความแน่น โดยการกดดูตรงส่วนอก ถ้าเนื้อแน่นกดไม่บุ๋ม แสดงว่าเป็นปูใหม่
   การเลือกซื้อหอย ควรเลือกซื้อหอยที่หุบปากแน่น เมื่อวางไว้จะดำ และหุบอย่างรวดเร็วเมื่อเอามือไปแตะไม่มีกลิ่นเหม็น สำหรับหอยที่แกะเปลือกแล้ว ต้องมีสีสด น้ำที่แช่ไม่มีเมือกและกลิ่นเหม็น
  


5. การเลือกซื้อผลไม้
การเลือกซื้อผลไม้บางชนิด
   - ส้มเขียวหวาน เลือกที่มีเปลือกบาง มีสีเขียวเหลือง น้ำหนักพอสมควร เช่น 1 กิโลกรัม มีส้มอยู่ 7 ลูก
   - สับปะรด เลือกตาใหญ่ เปลือกสีเขียวอมเหลือง
   - มังคุด เลือกขนาดเล็ก ผิวเรียบ
   - ลางสาด เลือกผลยาวรี ผิวสีเหลืองนวล จับดูเนื้อนุ่ม ใกล้ขั้วมีสีเหลืองออกน้ำตาล
   - เงาะ เลือกเงาะสดไม่เหี่ยว
   - ชมพู่ ผิวเรียบไม่มีแมลงกัดกิน ลูกใหญ่
   - องุ่น เลือกที่เป็นพวง ลูกใหญ่

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

วันสารทเดือนสิบ

                                      


       
      ความหมาย          สารทเป็นการทำบุญกลางปีของไทย ตรงกับวันสิ้นเดือน ๑๐ หรือวันแรม ๑๕  ค่ำ เดือน ๑๐   ซึ่งเป็นฤดูที่พืชพันธุ์ธัญชาติและผลไม้สุก ข้าวและต้นผลไม้ที่ปลูกไว้กำลังให้ผลเป็นครั้งแรกในฤดูนี้ความเป็นมา          สารทเป็นนักขัตฤกษ์  ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณว่า เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ คือวัน เวลา เดือนและปีที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี  และโดยที่มนุษยชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปี เป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม จึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกว่ากวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวปายาส ข้าวยาคูและขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า กระยาสารท แล้วประกอบการบำเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณและแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชน   แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์   ชาวไทย ก็นิยมรับ เพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดถือปฏิบัติ        ภาคใต้
         
มีประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องและบุคคลอื่นๆที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน ๑๐ เป็นสองวาระคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ครั้นหนึ่งและ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรกหรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะมีความสำคัญมากกว่า (บางท้องถิ่นทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐)
          การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็น ๔ อย่างคือ
๑.ประเพณีทำบุญเดือนสิบ   โดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก
๒.ประเพณีทำบุญวันสารท โดยถือหลักของการทำบุญที่มีความสัมพันธ์ กับอินเดีย เหมือนวันสารทไทยของคนไทยในภาคกลางดังกล่าวมาแล้ว  บางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีทำบุญสารทหรือเดือนสิบ
๓.ประเพณีจัดห..รับ (สำรับ) การยกห..รับและการชิงเปรต คำว่า จัดห..รับ ได้แก่ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็นมื้อ ๆ การยก ห..รับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัดพร้อมทั้งภัตตาหารไปถวายพระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล จะจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โตก็ได้ บางแห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย ส่วนชิงเปรตหรือตั้งเปรตนั้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญ  กล่าวคือ  เมื่อจัดห..รับ ยกห..รับไปถวายพระภิกษุแล้วจะเอาอาหารที่จัดไว้ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไปจัดตั้งไว้ให้เปรต  โดยมากเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือขนม ๕ อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง ขนมดีซำและขนมบ้า สถานที่ตั้งอาหาร  เป็นร้านสูงพอสมควร เรียกว่า ร้านเปรตหรือหลา(ศาลา) เปรต มีสายสิญจน์วงรอบ โดยให้ปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุล ซึ่งชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พบเก็บสายสิญจน์แล้ว ก็จะมีการแย่งอาหารและขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนานเรียกว่าชิงเปรต แล้วนำมากิน   ถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคล การทำบุญด้วยวิธีตั้งเปรตและชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้ บางครั้งเรียกว่า การฉลอง..รับและบังสุกุล ถือว่าสำคัญเพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย
๔.ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย  โดยถือคติว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับนรกตามเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐   แต่มีบางแห่งถือว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว   เหล่านี้เป็นตายาย   เมื่อท่านมาก็ทำบุญรับ เมื่อท่านกลับก็ส่งกลับ   จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า   ทำบุญตายาย  ของทำบุญก็เหมือนกับที่กล่าวไว้ในข้อ ๓
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน           มีประเพณีการทำบุญในเดือน ๑๐ เหมือนกัน  คือ  ทำในวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐   แต่แบ่งระยะเวลาของประเพณีการทำบุญออกไปเป็น๒ ระยะ  ดังนี้
          ระยะแรก ก่อนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวเม่าพอง  และข้าวตอก (บางแห่งเรียกดอกแตก) ขนมและอาหารหวานคาวอื่น ๆ เพื่อจะทำบุญในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ มาถึงโดยเฉพาะ ข้าวเม่าพอง กับข้าวตอกนั้น จะคลุกให้เข้ากันแล้วใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าวให้เป็นข้าวสาก ซึ่งตรงกับคนไทยภาคกลางเรียกว่า กระยาสารท  เมื่อเตรียมของทำบุญไว้เรียบร้อย ก็จะเอาข้าวปลาอาหารไปส่งญาติพี่น้องเพื่อนฝูง  ถ้าหากบุคคลเหล่านั้นอยู่ห่างไกลก็จะไปค้างคืน   นอกจากมอบของแล้วจะถือโอกาสเยี่ยมเยียนถามทุกข์สุขเป็นประเพณีที่เรียกว่า ส่งเขาส่งเรา ผลัดกันไปผลัดกันมา  เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ส่วนข้าวสารหรือกระยาสารทนั้น จะส่งก่อนวันทำบุญหรือในวันทำบุญก็ได้ เรียกว่า  ส่งข้าวสาก
          ระยะที่สอง คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ เวลาเช้าชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรที่วัด  อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่อาจมีบางคนอยู่วัดรักษาศีลฟังเทศน์ก็ได้ ครั้นถึงเวลาใกล้เพล   ก็เตรียมภัตตาหารไปวัดอีกครั้งหนึ่ง  มีห่อข้าวน้อย  ห่อข้าวใหญ่  ข้าวสากและอาหารอื่น ๆ  บางแห่งอาจจัดของที่จะถวายเป็นกัณฑ์เทศน์ไปด้วย
          เมื่อถึงวัดแล้ว ก็จะจัดภัตตาหารและของพี่จะถวายพระภิกษุถวายเสียก่อน  บางแห่งนิยมทำเป็นสลาก ชาวบ้านคนไหนจับสลากถูกชื่อพระภิกษุรูปใดก็ถวายรูปนั้น ทำนองเดียวกับการทำบุญสลากภัตจึงเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจว่า   การทำบุญข้าวสาก ก็คือ ทำบุญด้วยวิธีถวายตามสลาก
          ส่วนห่อข้าวน้อย ห่อข้าวใหญ่ ชาวบ้านแจกกันเอง ห่อข้าวน้อยนั้น เมื่อแจกแล้วก็แก้ห่อออกกินกันในวัดทีเดียว ถือกันว่าเป็นการกินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ส่วนห่อข้าวใหญ่เอากลับไปบ้าน เก็บไว้ในเวลาต่อไป เพราะอาหารในห่อนั้นเป็นพวกของแห้ง เช่นปลาแห้ง เนื้อแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน ๆ ถือคติว่าเอาไปกินในปรโลก ประเพณีแจกห่อข้าวน้อยและห่อข่าวใหญ่นี้ ปัจจุบันเกือบไม่มี
แล้ว จะจัดเพียงภัตตาหารไปถวายพระภิกษุพร้อมด้วยข้าวสากหรือถวายกระยาสารทเท่านั้น
          สำหรับข้าวสากที่จะนำไปแจกกันเหมือนกระยาสารทของคนไทยภาคกลางนั้นวิธีห่อผิดกับทางภาคกลาง เพราะห่อด้วยใบตองกลัดด้วยไม้กลัด  หัวท้ายมีรูปลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ตรงปลายทั้งสองข้าง ที่เรียกว่าสันตองไม่ต้องพับเข้ามา ของที่ใส่ในห่อ มีข้าวต้ม(ข้าวเหมือนแบบข้าวต้มผัด) ข้าวสาก  แกงเนื้อ  แกงปลา  หมาก  พลู บุหรี่ ห่อแล้วเย็บติดกันเป็นคู่ ๆ เอาไปห้อยไว้ตามต้นไม้  รั้วบ้าน เมื่อห้อยไว้แล้วก็ตีกลองหรือโปง เป็นสัญญาณให้เปรตมาเอาไปและปล่อยทิ้งไว้ชั่วพักหนึ่งกะเวลาที่เปรตได้มารับเอาอาหารที่ห้อยไว้นั้นไปแล้ว ชาวบ้านก็แย่งกันชุลมุน ใครแย่งเก่งก็ได้มากกว่าคนอื่น   เรียกว่า  แย่งเปรต    



           
          ของที่แย่งเปรตไปได้นี้  ชาวบ้านจะเอาไปไว้ตามไร่นา เพื่อเลี้ยงตาแฮก(ยักษินีหรือเทพารักษ์ รักษาไร่นาซึ่งเคยเลี้ยงมาเมื่อตอนเริ่มทำนาในเดือน มาครั้งหนึ่งแล้ว) นอกจากเลี้ยงตาแฮกแล้วก็เอาไปให้เด็กรับประทาน   เพราะถือว่าเด็กที่รับประทานแล้วจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ไม่เจ็๋บไข้ได้ป่วย

ความเชื่อ
          วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข
          อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก

เวลาและโอกาส


         การกำหนดทำบุญวันสารท มีความคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น  
  •  ภาคกลาง กำหนดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
  • ภาคใต้ กำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันรับตายาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันส่งตายาย
  • ชาวมอญ กำหนดวันขึ้น 15 ค่ ำ เดือน 11  
อย่างไรก็ตาม สารทไทยโดยทั่วไป ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เนื่องจากนับถัดจากวันสงกรานต์ ตามจันทรคติจนถึงวันสารทจะครบ 6 เดือน พอดี




ประเพณีปฏิบัติ


 ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น
 ในวันงาน ชาวบ้ายจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน
 ทายก ทายิกา ไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล
 นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน
 บางท้องถิ่นทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ
ประเพณีสังวร


 วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันสารทจะมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่หมู่ชน และขนบธรรมเนียมประเพณีตามภูมิภาค ควรยอมรับว่าแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และปฏิบัติตามแต่ละท้องถิ่นจะนิยม  การทำบุญวันสารท ควรถือเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติสนิทมิตรสหายทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมี ชีวิตอยู่เพราะเป็นช่วงที่ว่างจากการทำนาบ้างหรือไม่เร่งรัดเหมือนกับช่วงปักดำ หรือช่วงเก็บเกี่ยว  การไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต และเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งรัดงานมากนัก
 พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
 ควรส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารท ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป

กิจกรรมในวันสารทไทย       


ทำบุญตักบาตร วันสารทไทยเป็นประเพณีไทยที่แตกต่างจากประเพณีอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนของการทำบุญตักบาตร ด้วยมีความเชื่อว่าการทำบุญวันสารทเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่ง ลับไปแล้ว การตักบาตรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่ 
  • ตักบาตรขนมกระยาสารท
              ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชื่อที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้ 
  •  ตักบาตรน้ำผึ้ง
              เป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญที่นิยมตักบาตรน้ำผึ้งประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้งเนืองจากมีเรื่องเล่าตามพุทธประวัติว่า “ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ ป่าปาริไลยก์ เพียงพระองค์เดียว แต่มีผู้ถวายอุปัฏฐากเป็นช้างปาริเยยกะ เป็นผู้คอยถวายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และลิงเป็นผู้หาผลไม้มาถวาย วันหนึ่งลิงได้นำน้ำผึ้งมาถวาย การถวายน้ำผึ้งจึงเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”  
  • ฟังธรรมเทศนา 
  • ถือศีลภาวนา 
  • ปล่อยนกปล่อยปลา